กิจกรรม 15-19 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน



สืบค้นข้อมูล
 ระบบสุริยะ คือ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งใน กาแลกซี ทางช้างเผือก โดยมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ 9 ดวงเป็นบริวาร โคจรมารอบดวงอาทิตย์ โดยดาวเคราะห์ทั้งเก้าจะมีดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวเคราะห์ หรือไม่มีก็ได้ โดยดาวทั้งหมดจะได้รับแรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์
การเกิดระบบ สุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะ จักรวาลเกิดจากการหดตัวของกลุ่มก๊าซและฝุ่นภายใต้ความโน้มถ่วงของดาวระเบิด มีลักษณะหมุนเร็วขึ้นและมีการหมุนเป็นรูปวงรี โดยมีจุดศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่มีแสงสว่างในตัวเอง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตร โดยดวงอาทิตย์เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ ไฮโดรเจนและฮีเลียม มีอุณหภูมิและความดันสูงมาก
(ภาพ แกน เส้นแรงแม่เหล็ก เขตพาความร้อน แทโคไลท์ และบ่วงสุริยะ)
องค์ประกอบระบบ สุริยะจักรวาล
    ระบบสุริยะ จักรวาล ประกอบด้วย
1. ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เกิดจากก๊าซที่มีการระเบิดอยู่ตลอกเวลา ให้พลังงานแสง และพลังงานความร้อน ได้แก่ ดวงอาทิตย์ กลุ่มดาวจักราศี ดาวเหนือ
2. ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องอาศัยแสง และพลังงานจากดวงอาทิตย์ โดยดาวฤกษ์จะมีทั้งหมด  9 ดวง จึงเรียกว่า “ ดาวพระเคราะห์” ประกอบด้วย
ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจึงร้อนที่สุด ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4850 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 57.6 ล้านกิโลเมตร
ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 2 และมีสว่างมากที่สุดในยามค่ำคืนจึงเรียกดาวศุกร์ว่า “ ดาวประจำเมือง” ในช่วงเช้ามือ เราเรียกว่า “ ดาวประกายพรึก”ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12032 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 107.52 ล้านกิโลเมตร
โลก เป็นดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิต และมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 3 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12739 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 148.80 ล้านกิโลเมตร
ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 มีลักษณะใกล้เคียงกับโลก มีน้ำแข็งปกคลุมทั่วทั้งหมด มีไอน้ำ กลางวันดาวอังคารจะเย็นกว่าโลก เพราะอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่า ส่วนกลางคืนก็เย็นจัดกว่าโลก ดาวอังคารมีบริวาร 2 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6755 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 225.60 ล้านกิโลเมตร
ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่และหนักกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 5 ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม มีดวงจันทร์ถึง 16 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 141968 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 722.80 ล้านกิโลเมตร
ดาวเสาร เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัส และเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 เป็นดาวเคราะห์ที่สวยที่สุด เพราะมีวงแหวนซึ่งเป็นกลุ่มก้อนน้ำแข็งที่โคจรรอบดาวเสาร์ ดาวเสาร์จึงมีอากาศหนาวจัด มีดวงจันทร์เป็นบริวาลทั้งหมด 18 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 119296  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 1417.6 ล้านกิโลเมตร
ดาวยูเรนัส  เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 นิยมเรียกว่า “ ดาวมฤตยู” มีดวงจันทร์ 5 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 52096  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 2852.8 ล้านกิโลเมตร
ดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 8 คนไทยเรียก “ ดาวเกตุ” มีดวงจันทร์ 8 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48600  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4496.6 ล้านกิโลเมตร
าวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดาวพลูโต มีก้อนหิมะปกคลุม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2284  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 5865.6 ล้านกิโลเมตร
3. ดาวเคราะห์น้อย เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดเล็ก ที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ มีปริมาณ 3 – 5 หมื่นดวง อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส
4. ดาวหาง เป็นดาวที่มีรูปร่างเหมือน เปลวไฟเป็นหางยาว มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์แน่นอนเช่นเดียวกับดาวเคราะห์และดาวเคราะห์น้อย ดาวหางประกอบด้วยก๊าซต่างๆ เปลวไฟที่เห็นเป็นทางก็คือก๊าซและสะเก็ดดาวที่ไหลเป็นทาง
 
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phichit/apichat_p/sec01p02.html

ตอบข้อ 2. ดาวศุกร์





สืบค้นข้อมูล

 ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)  
             ดาว พฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ เพราะมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11.2 เท่า นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ เพราะมีองค์ประกอบเป็นก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมคล้ายในดวงอาทิตย์ ความหนาแน่นของดาวพฤหัสบดีจึงต่ำ (1.33 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นเป็นดวงกลมโตกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ พร้อมสังเกตเห็นบริวาร 4 ดวงใหญ่เรียงกันอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรด้วย กาลิเลโอเป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่ใช้กล้องส่องพบบริวารสี่ดวงใหญ่นี้ จึงได้รับเกียรติว่าเป็นดวงจันทร์ของกาลิเลโอ
 
              ความ เป็นที่สุดของดาวพฤหัสบดี ใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย โดยมีเส้นผ่านศุนย์กลางเป็น 11.2 เท่าของโลก ขนาดเชิงมุมใหญ่ที่สุดเท่ากับ 50.0 ฟิลิปดา มีมวลสารมากที่สุดโดยมีเนื้อสารเป็น 318 เท่าของโลก หรือ 2.5 เท่าของดาวเคราะห์อื่นและบริวารรวมกัน มีปริมาตรมากที่สุด ถ้าดาวพฤหัสบดีกลวงจะสามารถจุโลกได้ 1,430 โลก หมุนรอบตัวเองเร็วที่สุด โดยใช้เวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมงในการ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ดังนั้น 1 วันบนดาวพฤหัสบดีจึงสั้นที่สุดด้วย การหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วของดาวเคราะห์ ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีออกจากจุดศูนย์กลาง ดาวพฤหัสบดีจึงโป่งออกบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสามารถสังเกตได้แม้ในรูปขนาดเล็ก มีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่ผิวมากที่สุด โดยมีค่าเป็น 2.53 เท่าของโลก นั่นหมายความว่าถ้าเราอยู่บนดาวพฤหัสบดีเราจะหนักเป็น 2.53 เท่าของน้ำหนักบนโลก มีความเร็วของการผละหนีที่ผิวมากที่สุด (60 กิโลเมตรต่อวินาที เทียบกับ 11.2 กิโลเมตรต่อวินาทีที่ผิวโลก) ดังนั้นก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซฮีเลียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ จึงไม่สามารถหนีจากดาวพฤหัสบดีได้ เป็นราชาแห่งดาวเคราะห์เพราะความเป็นที่สุดดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ยังเป็นระบบสุริยะย่อยๆ เพราะมีบริวารอย่างน้อย 16 ดวง เคลื่อนไปรอบๆ คล้ายดวงอาทิตย์ที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบ 9 ดวง สมบัติอื่นๆ ของดาวพฤหัสบดีคือ มีจุดแดงใหญ่อยู่ที่ละติจูด 22 องศา มีขนาดโตกว่า 3 เท่าของโลก จุดแดงใหญ่เป็นพายุหมุนที่เกิดในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี สังเกตุพบครั้งแรกโดย รอเบิร์ด ฮุค เมื่อ พ.ศ. 2207 และแคสสินี ในปีพ.ศ. 2208 จุดแดงใหญ่มีอายุอยู่ได้นานเพราะมีขนาดใหญ่ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และไม่มีใครบอกได้ว่าจุดแดงใหญ่จะหายไปเมื่อใด มีแถบและเข็มขัดขนานกันในแนวเส้นศูนย์สูตร เมื่อดูจากภาพถ่ายหรือดูในกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง จะเห็นแถบกว้างหลายแถบ ระหว่างแถบมีร่องลึกคล้ายแข็มขัดหลายเส้น เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
              ดาว พฤหัสบดีให้ความร้อนและคลื่นวิทยุออกมามากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และมากกว่าที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าใจกลางของดาวพฤหัสบดี มีอุณหภูมิสูงประมาณ 30,000 องศาเซลเซียส มีบริวารอย่างน้อย 16 ดวง และบริวาร 4 ดวงใหญ่ ที่ชื่อว่า ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต ค้นพบโดยกาลิเลโอ เมื่อ พ.ศ. 2153 ทำให้กาลิเลโอมั่นใจ และสนันสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสเกี่ยวกับระบบสุริยะว่า เป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง ดาวพฤหัสบดีจึงเป็นระบบย่อยๆ ที่มีบริวารวิ่งวนอยู่โดยรอบ แบบเดียวกันกับที่ดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ การเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เทียบกับดาวฤกษ์รอบละ 11.86 ปี หรือเกือบ 12 ปี ทำให้เห็นดาวพฤหัสบดีเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวจักรราศีได้ปีละ 1 กลุ่ม หรือผ่านครบ 12 ราศีในเวลาประมาณ 12 ปี
              การ สำรวจดาวพฤหัสบดีโดยยานอวกาศ มียานอวกาศหลายลำที่ได้สำรวจดาวพฤหัสบดี ทำให้ได้ภาพถ่าย ดาวพฤหัสบดีในระยะใกล้ และค้นพบบริวารเพิ่มเติมหลายดวง ยานอวกาศลำแรกที่ไปเฉียดดาวพฤหัสบดีคือ ยานอวกาศไพโอเนียร์ 10 ของสหรัฐอเมริกา ออกจากโลกเมื่อ พ.ศ. 2515 และไปเฉียดดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2516 ยานได้ส่งภาพถ่ายดาวพฤหัสบดี กลับมาจำนวนมาก ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และ 2 เป็นยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาอีก 2 ลำที่ออกเดินทางจากโลกเมื่อพ.ศ. 2522 จากภาพถ่ายในระยะใกล้นี้ ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบวงแหวนบางๆ 3 ชั้นของดาวพฤหัสบดี ยานอวกาศกาลิเลโอ เป็นยานอวกาศที่ส่งออกจากโลกแล้วอาศัยแรงเหวี่ยงของดาวศุกร์ และของโลกก่อนที่จะไปถึงดาวพฤหัสบดี ซึ่งดึงยานกาลิเลโอไว้เป็นบริวาร ยานจึงวนรอบดาวพฤหัสบดี ในขณะที่ส่งยานลำลูกฝ่าบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีด้วย เส้นทางการเคลื่อนที่ของยานกาลิเลโอที่ต้องอาศัยแรงเหวี่ยงของดาวศุกร์ 2 ครั้ง ของโลก 1 ครั้งก่อนที่จะไปวนรอบดาวพฤหัสบดี จึงมีชื่อเส้นทางการเคลื่อนที่ว่า VVEJ (Venus Venus Earth Jupiter)
              ขณะนี้ ยานกาลิเลโอลำแม่ยังเคลื่อนที่รอบดาวพฤหัสบดี บางรอบผ่านใกล้บริวารขนาดใหญ่ของดาวพฤหัสบดี ซึ่งได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต ก่อนที่จะถึงดาวพฤหัสบดี ยานอวกาศกาลิเลโอได้ผ่านใกล้ดาวเคราะห์น้อย 2 ดวง คือ แกสปรา เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 และไอดา เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ยานอวกาศกาลิเลโอได้เข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัสบดีครั้งแรก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และได้ผ่านเฉียดบริวารไอโอเพียง 900 กิโลเมตร โดยมีกำหนดเข้าใกล้ไอโอมากกว่านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ไอโอ คือบริวารที่พบว่ามีภูเขาไฟกำลังจะระบิดอยู่หลายแห่ง เมื่อผ่านเข้าใกล้ยูโรปา ซึ่งเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลกเราเล็กน้อย พบว่าพื้นผิวของยูโรปาปกคลุมด้วยน้ำแข็งที่หนาทึบ มีหลุมบ่อไม่มาก สันนิษฐานว่า เมื่ออุกกาบาตวิ่งเข้าชนจนเกิดหลุมแล้ว น้ำที่เกิดขึ้นจะแข็งตัวกลบหลุมอีกครั้งหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสงสัยว่า กระบวนการที่น้ำแข็ง ละลาย -> แข็งตัว -> ละลาย อาจเกิดขึ้นบนยูโรปาด้วยสาเหตุอื่น เช่นแรงน้ำขึ้น - น้ำลง แกนิมีดเป็นก้อนน้ำแข็งสกปรกขนาดใหญ่ เป็นบริวารดวงใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดี และขอบระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ มีพื้นผิวที่ขรุขระเหี่ยวย่น และมีหลุมอุกกาบาตหลายแห่ง มีลักษณะไม่เหมือนบริวารดวงอื่น แกนิมีดอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีจึงมีแรงน้ำขึ้น-น้ำลงจากดาวพฤหัสบดีค่อนข้างมาก คัลลิสโตมีขนาดโตพอๆ กับดาวพุธ เป็นบริวารที่มีหลุมอุกกาบาตมากกว่าบริวารดวงอื่น พื้นผิวน้ำแข็งของคัลลิสโตอาจหนาแน่นกว่าของแกนิมีดหลายเท่า น้ำแข็งอาจลงไปลึกหลายร้อยกิโลเมตร อุณหภูมิของคัลลิสโตต่ำมาก เครื่องมือวัดอุณหภูมิในยานวอยเอเจอร์ วัดอุณหภูมิเวลากลางวันของคัลลิสโตได้ -118 องศา เซลเซียส ในขณะเวลากลางคืนอุณหภูมิเป็น -193 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ยานอวกาศกาลิเลโอผ่านใกล้ไอโอ โดยอยู่สูงจากภูเขาไฟของไอโอเพียง 1,000 กิโลเมตร แต่โชคไม่ดีที่เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค จึงไม่สามารถบันทึกข้อมูลที่น่าสนใจได้ ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ปีพ.ศ. 2543 ยานอยู่ห่างไอโอเพียง 200 กิโลเมตรเท่านั้น


ตอบข้้อ  2. ไฮโดรเจนและฮีเรียม

  
 สืบค้นข้อมูล
 ดาวนิวตรอน (อังกฤษ: Neutron star) เป็นซากที่เหลือจากยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์โนวาชนิด II,Ib หรือ Ic และจะเกิดเฉพาะดาวฤกษ์มวลมากมีส่วนประกอบเพียงนิวตรอนที่อะตอมไร้กระแสไฟฟ้า (นิวตรอนมีมวลสารใกล้เคียงโปรตอน) และดาวประเภทนี้สามารถคงตัวอยู่ได้ด้วยกฎของเพาลีเกี่ยวกับแรงผลักระหว่าง นิวตรอน
ดาวนิวตรอนมีมวลประมาณ 1.35 ถึง 2.1 เท่ามวลดวงอาทิตย์ และมีรัศมี 20 ถึง 10 กิโลเมตรตามลำดับ (เมื่อดาวนิวตรอนมีมวลเพิ่มขึ้น รัศมีของดาวจะลดลง) ดาวนิวตรอนจึงมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ 30,000 ถึง 70,000 เท่า ดังนั้นดาวนิวตรอนจึงมีความหนาแน่นที่ 8*10^13 ถึง 2*10^15 กรัมต่อลูกบากศ์เซนติเมตร ซึ่งเป็นช่วงของความหนาแน่นของนิวเคลียสอะตอม ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นาประมาณ 150,000 กิโลเมตรต่อวินาที หรือประมาณครึ่งหนึ่งของความเร็วแสง โดยทั่วไปแล้ว ดาวที่มีมวลน้อยกว่า 1.44 เท่ามวลดวงอาทิตย์ จะเป็นดาวแคระขาวตามขีดจำกัดของจันทรสิกขาร์ ถ้าอยู่ระหว่าง 2 ถึง 3 เท่ามวลดวงอาทิตย์อาจจะเป็นดาวควาร์ก (แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่) ส่วนดาวที่มีมวลมากกว่านี้จะกลายเป็นหลุมดำไป
เมื่อดาวฤกษ์มวลมากเกิดซุเปอร์โนวาและกลายเป็นดาวนิวตรอน ส่วนแก่นของมันจะได้รับโมเมนตัมเชิงมุมมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรัศมีจากใหญ่ไปเล็กนั้นจะทำให้ความเร็วในการหมุนรอบตัว เองขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะหมุนรอบตัวเองช้าลงทีละน้อย ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดาวนิวตรอนที่มีการบันทึกได้นั้นอยู่ระหว่าง 700 รอบต่อวินาทีไปจนถึง 30 วินาทีต่อรอบ ความเร่งที่พื้นผิวอยู่ที่ 2*10^11 ถึง 3*10^12 เท่ามากกว่าโลก ด้วยเหตุนี้ดาวนิวตรอนจึงสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงหรือพัลซาร์ และกระแสแม่เหล็กออกมาปริมาณมหาสาร
การที่ดาวนิวตรอนสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงๆนั้นทำได้อย่างไร ยังไมเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ แม้ว่าจะมีการวิจัยเรื่องนี้มานานกว่า 40 ปีแล้วก็ตาม
ในดาราจักรของเรานั้นเราพบเพียงไม่กี่สิบดวงเท่านั้น เรายังพบอีกว่า ดาวนิวตรอน น่าจะเป็นต้นกำเนิดของ แสงวาบรังสีแกมมา ที่มีความสว่างมากกว่าซูเปอร์โนวา หลายเท่า

ดาวนิวตรอน (Neutron star)
มีขนาดเล็กมากประมาณ 10 – 20 กิโลเมตร และมีความหนาแน่นสูงมาก เนื้อสารของดาวนิวตรอน 1 ช้อนชา มีมวลถึง 120 ล้านตัน (อะตอมของสสารบนโลกมีที่ว่าง 99.999% ของอะตอม แต่ดาวนิวตรอนไม่มีที่ว่างอยู่เลย จึงสามารถบีบอัดมวลมหาศาลให้มีปริมาตรเล็กได้) อย่างไรก็ตามดาวนิวตรอนมีลิมิตมวลไม่เกิน 3 เท่าของดวงอาทิตย์ ถ้าหากมีมวลมากกว่านี้ แรงโน้มถ่วงของดาวจะเอาชนะแรงดันดีเจนเนอเรซีของดาวนิวตรอน ทำให้แก่นดาวยุบตัวเป็นหลุมดำ ซึ่งแม้แต่แสงยังไม่สามารถหนีหลุดออกมาได้
 
ทีึ่มา  http://picpost.postjung.com/64226.html

ตอบข้อ  4. ดาวนิวตรอน


สืบค้นข้อมูล
 โชติมาตรสัมบูรณ์ (อังกฤษ: Absolute magnitude,M) เป็นการวัดความสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ โดยจินตนาการให้ดาวฤกษ์นั้นอยู่ที่ระยะห่างจากโลกออกไป 10 พาร์เซก หรือ 32.616 ปีแสง โดยดาวที่ห่างไปจากโลก 10 พาร์เซก จะมีมุมแพรัลแลกซ์ เป็น 0.1 พิลิปดา
การวัดความสว่างของดาวฤกษ์อีกแบบคือโชติมาตรปรากฏซึ่งเป็นการวัดความสว่างของดาวบน ท้องฟ้าเมื่อมองจากโลก
อย่างไรก็ตามแม้โชติมาตรปรากฏจะสามารถบอกอันดับความสว่างของดาวได้ แต่ก็ไม่สามารถบอกกำลังส่องสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ดวงนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง ดาวฤกษ์ที่ปรากฏให้เห็นความสว่างยามค่ำคืนน้อยกว่า แท้จริงแล้วอาจมีกำลังส่องสว่างมากกว่าดาวที่ปรากฏสุกใสอยู่บนท้องฟ้าได้ ซึ่งเป็นเพราะดาวนั้นอยู่ไกลจากโลกออกไปมากนั่นเอง
ค่าของโชติมาตรสัมบูรณ์มีลักษณะเหมือนกับโชติมาตรปรากฏ คือ ดวงดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 5 อันดับ จะมีความสว่างต่างกัน 100 เท่า คือ ดวงดาวที่มีโชติมาตรสัมบูรณ์ต่างกัน 1 โชติมาตร จะมีความสว่างต่างกัน \sqrt[5]{100}\approx 2.512 เท่า

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C

ตอบข้อ 4. ดาวเคราะห์ D มีอันดับความสว่าง -2

 สืบค้นข้อมูล
 ปีแสง คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607×1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก เนื่องจากเอกภพมีขนาดมหึมา แสงจากวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะ เดินทางมาถึงเรา นั่นหมายความว่าเราเห็นอดีตของวัตถุนั้นอยู่ตลอดเวลา
ปีแสงใช้เพื่อวัดระยะทางระหว่างดาราจักร และไม่ใช่หน่วยวัดเวลา หนึ่งปีแสงมีค่าที่แน่นอนโดยใช้ตัวเลขปีจูเลียน (365.25 วัน) มาคำนวณซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล[1] คือ 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87

ตอบข้อ 1. ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทาง 1 ปี





สืบค้นข้อมูล 

ซูเปอร์โนวา หรือ มหานวดารา เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมากที่สุดที่รู้จัก นั่นคือเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุไขแล้ว จะเปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดออกรัศมีสว่างวาบเป็นรัศมีเพียงชั่วครู่ ก่อนจะเลือนจางลงในเวลาสัปดาห์หรือเดือนเท่านั้น
ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ ที่เกิดซูเปอร์โนวานี้ มันจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลขนาดเท่ากับพลังงานของดวงอาทิตย์ดวงหนึ่งสามารถปลดปล่อยได้ทั้งชีวิตที เดียว การระเบิดจะขับไล่ดวงดาวและวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ให้กระเด็นออกไปไกลด้วยความเร็วแสง และเกิดคลื่นกระแทกแผ่ออกไปโดยรอบตรงช่องว่าง ระหว่างดวงดาว การกระแทกนี้ได้กวาดเหล่าแก๊สและฝุ่นละอองออกไปอย่างรวดเร็ว เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการเกิดซากซูเปอร์โนวา
แต่ละประเภทของซูเปอร์โนวา ที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งเกิดพลังงานที่เกิดจากนิวเคลียร์ฟิวชัน หลังจากแกนกลางของดาวมีอายุมวลมากเข้าสู่ความตาย และเริ่มสร้างพลังงานจากนิวเคลียร์ฟิวชัน อยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงที่จะนำไปสู่การยุบตัวของดวงดาว จนอาจกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือไม่ก็หลุมดำ การปลดปล่อยพลังงานศักย์โน้มถ่วง ทำให้เกิดทั้งความร้อนและสาดผิวชั้นนอกของดวงดาวให้กระเด็นออกไป ในทางกลับกัน ดาวแคระขาวอาจสะสมเพิ่มพูนสสารจนเพียงพอจากดาวข้าง เคียงกัน หรือที่เรียกว่าระบบดาวคู่(binary star system) เป็นการเพิ่มอุณหภูมิแกนกลางจนกระทั่งเกิดฟิวชันถึงระดับของธาตุคาร์บอน แกนกลางของดาวฤกษ์ที่ร้อนระอุซึ่งอยู่ในสภาวะยุบตัวเนื่องจากมีมวลเกินค่าขีดจำกัดของจันทร เศกขาร ( Chandrasekhar limit) ซึ่งมีค่าประมาณ 1.38 เท่าของดวงอาทิตย์ เกิดเป็นซูเปอร์โนวาประเภท T1 (Type I Supernovae) แต่ว่าดาวแคระขาวจะแตกต่างตรงที่มีการระเบิดที่เล็กกว่าโดยใช้เชื้อเพลิงจากไฮโดรเจนที่ผิวของมัน เรียกว่า โนวาดาวที่มีมวลน้อย (ประมาณไม่ถึงเก้าเท่าของดวงอาทิตย์) เช่นดวงอาทิตย์ของเรา จะวิวัฒน์ไปเป็นดาวแคระขาวโดยปราศจากการเกิดซูเปอร์โนวา
ประเภทของซูเปอร์โนวาที่เราคุ้นเคยที่สุดก็คือ ซูเปอร์โนวาประเภท T2 (Type II Supernovae) เกิดจากการสิ้นสุดวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ เป็นการดับของดาวฤกษ์ที่มีขนาดยักษ์กว่าดวงอาทิตย์ของเรา โดยการระเบิดจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในแกนกลางของดาวฤกษ์หมดลง แรงดันที่เกิดจากอิเลคตรอนผลักกันก็จะหายไป ดาวฤกษ์จะยุบตัวลงเนื่องจากแรงโน้มถ่วงอะตอมธาตุใน แกนกลางดาวฤกษ์บีบอัดตัวจนชนะแรงผลักจากประจุ อะตอมจึงแตกออกเหลือแต่นิวตรอนอัดตัวกันแน่นแทน เปลือกดาวชั้นนอกๆ ที่บีบอัดตามเข้ามาจะกระแทกกับแรงดันจากนิวตรอน จนกระดอนกลับและระเบิดกลายเป็นซูเปอร์โนวา วัสดุสารจากการระเบิดซูเปอร์โนวาจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง ที่ใจกลางของซูเปอร์โนวาจะมีก้อนนิวตรอนซึ่งจะเรียกว่า ดาวนิวตรอน (neutron star)
โดยเฉลี่ยแล้ว ซูเปอร์โนวาจะเกิดประมาณห้าสิบปีครั้งหนึ่งในดาราจักรที่มีขนาดเท่าๆ กับทางช้างเผือกของเรา มีบทบาทสำคัญกับการเพิ่มมวลให้กับมวลสารระหว่างดวงดาว นอกจากนั้น การแผ่กระจายของคลื่นกระแทกจากการระเบิดของซูเปอร์โนวาสามารถก่อให้เกิดดาว ดวงใหม่ได้มากมาย
คำว่า “โนวา” มาจากภาษาลาติน แปลว่าใหม่ หมายถึงการเกิดใหม่ของดาวดวงใหม่ส่องแสงสว่างในท้องฟ้า ส่วนคำว่า “ซูเปอร์” จำแนกซูเปอร์โนวาออกจาก โนวา ธรรมดา ต่างกันที่ความสว่างที่สว่างกว่า ขนาดและทางกลที่ต่างกันด้วย คำว่าซูเปอร์โนวาใช้ครั้งแรกในหนังสือ Merriam-Webster's Collegiate Dictionary ตีพิมพ์เมื่อปี 1926

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2
ตอบข้อ 2.การระเบิดซูเปอร์โนวา



สืบค้นข้อมูล
สีของดาวฤกษ์
     ดาวฤกษ์ส่องแสงได้เนื่องจากมันมีความร้อนสูง มันได้รับพลังงานมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นภายใน แต่น้อง ๆ เคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่ามันมีสีที่แตกต่างกัน?
     ดาวฤกษ์ส่งคลื่นแสงออกไป แต่แสงนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อดาวฤกษ์เคลื่อนที่ ขณะที่ดาวฤกษ์เคลื่อนที่เข้าหาเรา แสงของมันจะขาวขึ้น แต่เมื่อมันเคลื่อนที่ออกไปไกลจากเรามันจะทอดหางออกมาเป็นแสงสีแดง
     ในปีพ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) นักดาราศาสตร์ต่างก็ต้องประหลาดใจที่ได้พบว่ากาแล็กซีที่รู้จักกันดีส่วน ใหญ่จะมีโทนสีแดง ทำไมมันอย่างนั้นล่ะ? เหตุผลก็คือกาแล็กซีส่วนใหญ่จะเดินทางออกหางจากเรา ด้วยความเร็วสูงกว่านั้น อาจจะถึงหลายหมื่นไมล์ต่อวินาทีเลยทีเดียว
    ดาวฤกษ์มีแสงสว่างในตัวเอง สีของมันขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่พื้นผิวของดวงดาว
http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/big-bang/index/indexpic9.htm

ตอบข้อ 2.มีแสงสีแดง 
สืบค้นข้อมูล
ความสว่างและสีของดาว  เมื่อเราสังเกตดาวบนท้องฟ้า  นอกจากกลุ่มดาวแล้ว  สิ่งที่น่าสังเกตและน่าสนใจอีกสิ่งหนึ่งก็คือ  เราจะเห็นว่าดาวแต่ละดวงมีความสว่างและสีไม่เหมือนกัน  ตัวอย่างเช่น  ดาวซิริอุส (Sirius)  ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ (Canis  Major)  เป็นดาวฤกษ์ที่เราเห็นว่ามีความสว่างที่สุดบนท้องฟ้าในตอนกลางคืน และมีสีขาว  ส่วนดาวเหนือ (Polaris)  ในกลุ่มดาวหมีเล็ก (Ursa  Minor)  เป็นดาวฤกษ์ที่ไม่ค่อยสว่าง  และมีสีเหลืองแกมเขียว  เป็นต้น         ความสว่างของดาวฤกษ์บนท้องฟ้า  เป็นความสว่าง ปรากฏแก่ตาของเรา  ความจริงแล้ว  ดาวที่ปรากฏไม่สว่างมาก  อาจมีความจริงมากก็ได้  แต่เนื่องจากดาวดังกล่าวอยู่ไกลจากเรามากจึงปรากฏไม่ค่อยสว่าง  ดังนั้นถ้าจะเปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์กันจริง   แล้ว  จะต้องเปรียบเทียบดาวที่ระยะ ทางเดียวกันหมด
        นักดาราศาสตร์นิยมกำหนดความสว่างของดาวในเทอมของ
  โชติมาตร (Magnitude)  ซึ่งเป็นค่า ระดับความสว่าง  โดยกำหนดว่า  ดาวที่มีโชติมาตร  1  จะมีความสว่างปรากฏมากกว่าดาวที่มีโชติมาตร  6  ประมาณ  100  เท่า  และดาวที่มีโชติมาตร  6  จะเป็นดาวที่มีความสว่างปรากฏที่น้อยที่สุดที่ตาของคนปกติสามารถ มองเห็นได้  โดยไม่ใช้กล้องสองตาหรือกล้อง ดูดาวช่วย  จากข้อกำหนดดังกล่าว  จึงพบว่าถ้าดาว  2  ดวงมีค่าโชติมาตรต่างกัน  1  แล้วความสว่างของดาวทั้ง  2  ดวงนี้จะต่างกัน  2.512  เท่า  ตัวอย่างเช่น  ดาวโชติมาตร  2  จะสว่างกว่าดาวโชติมาตร  3  ประมาณ  2.512  เท่า  เป็นต้น
       
© ดาววีกา (Vega)  ซึ่งเป็นดาวที่ มีค่าโชติมาตร  0  จะสว่างกว่า  ดาวเหนือ  ซึ่งเป็นดาวที่มีโชติมาตร  2  กี่เท่า
       
ถ้าจะเปรียบ เทียบความสว่างที่แท้จริงของดาวแล้ว  จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบดาวทุกดวงที่ระยะทางเท่ากันหมด  นักดาราศาสตร์พิจารณาค่าความสว่างหรือโชติมาตรที่แท้จริงของดาวโดย จะพิจารณาดาวทุดดวงอยู่ที่ระยะมาตรฐาน  10  พาร์เซค (Parsec)  โดยระยะทาง  1  พาร์เซค  มีค่าเท่ากับ  3.26  ปีแสง  หรือประมาณ  30  ล้านล้านกิโลเมตร  และเรียกค่าโชติมาตรของดาว  เมื่อพิจารณาระยะ  10  พาร์เซค  นี้ว่า  โชติมาตรสัมบูรณ์ (Absolute  Magnitude , m)  ส่วนค่าโชติมาตรของดาว    ระยะทางที่แท้จริง (d)  ของดาว  เรียกว่า  โชติมาตรปรากฏ (Apparent Magnitude , m)  โดยค่าทั้ง  3  สัมพันธ์กับตามสมการต่อไปนี้


    M  =  m 5 log  d + 5
          โดยระยะทาง  d  มีหน่วยเป็นพาร์เซค
      
©ดาวฤกษ์ดวงหนึ่งมีค่าโชติมาตร สัมบูรณ์  เท่ากับ  0  อยู่ห่างจากโลก  100  พาร์เซคเราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์ดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่าหรือไม่  จงให้เหตุผลประกอบ
      
เมื่อถ่ายภาพดาว ฤกษ์  พบว่า  ดาวฤกษ์แต่ละดวงจะมีขนาดแตก ต่างกันไป  ขนาดของดาวฤกษ์ที่ปรากฏอยู่บน ภาพถ่ายจะสัมพันธ์กับความสว่างของดาวฤกษ์  เราอาจถ่ายภาพของดาวฤกษ์ได้โดยใช้กล้องถ่ายภาพแบบเลนส์เดี่ยว ธรรมดาหรือกล้องถ่ายภาพ  ซี ซี ดี ติดเข้ากับกล้อง ดูดาว  จากภาพถ่ายของ ดาวฤกษ์จะเห็นว่าดาวสว่างจะมีขนาดใหญ่  และดาวหรี่จะมีขนาดเล็ก  ภาพที่  9  แสดงภาพของกระจุกดาวฮายเอเดส  (Hyades)  ซึ่งเป็นกระจุกดาวที่อยู่ในกลุ่มดาวราศีพฤษภ  (Taurus)  และภาพที่  10  แสดงภาพวาดของกระจุดดาวฮายเอเดส  ซึ่งวงกลมแต่ละวงจะมีขนาดเท่ากับดาวแต่ละดวงในภาพที่  9  และในภาพดังกล่าวจะมีดาวมาตรฐาน  (Standard  Stars)  ที่เราทราบค่าโชติมาตรปรากฏที่แน่นอน  ดังแสดงในตาราง
ชื่อดาว
ค่าโชติมาตรปรากฏ  (m)
a  Tau
e Tau
r Tau
58 Tau
48 Tau
+  2.39
+  4.56
+  4.90
+  5.48
+  6.72
ตารางแสดง  ค่าโชติมาตรปรากฏของดาวฤกษ์บางดวงในกระจุกดาวฮายเอเดสที่ใช้เป็นดาวมาตรฐาน               
       
       
          
ภาพแสดง  กระจุกดาวฮายเอเดสในกลุ่มดาวราศีพฤษภ
 







 

       
       
       
ภาพแสดงภาพวาดของกระจุกดาวฮายเอเดส
 







 
    
                                      ©    จากภาพที่  10  ลองวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (d)  ของดาวมาตรฐานทุกดวงที่ระบุในตารางที่  1  โดยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวจะแปรผันโดยตรงกับค่าความสว่าง (L)  ของดาวนั้น  อย่างไรก็ตามนักดาราศาสตร์พบว่าค่าโชติมาตรปรากฏ (m)  จะแปรผันกับค่าลอการิทึมของค่าความสว่างของดาว  กล่าวคือ
                             m      a         log  L
          ดังนั้น            m      a         log  d
          จากความสัมพันธ์ดังกล่าวข้าง ต้น  ถ้าเขียนกราฟความสัมพันธ์ ระหว่างค่าโชติมาตรปรากฏในตารางที่ 2-1  กับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวแต่ละดวง  ก็จะได้กราฟเส้นตรงและกราฟเส้นตรงดังกล่าวจะใช้เป็น  กราฟมาตรฐานที่จะใช้หาค่าโชติมาตรปรากฏของดาวดวงอื่น   ที่อยู่ในภาพที่  10  ได้
       
จงเลือกดาวในภาพ ที่  10  จำนวนหนึ่ง  แล้ววัดเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวเหล่านั้นและหาค่าโชติมาตรปรากฏของ ดาวดังกล่าว  โดยใช้กราฟมาตรฐานที่สร้างจาก ดาวมาตรฐาน
    
   ดังได้เคยกล่าวมาแล้วว่า  ดาวฤกษ์แต่ละดวงมีสีแตกต่างกันไป  ดาวฤกษ์อาจมีสีน้ำเงิน  สีขาว  สีเหลือง  สีส้ม  หรือสีแดง  สีของดาวฤกษ์จะเป็นอย่างไรนั้น  ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของดาวฤกษ์
    
   ©  สังเกตเปลวไฟสีน้ำเงิน  และเปลวไฟสีแดง  เราพอคาดคะเนได้หรือไม่ว่าเปลวไฟสีใดมีอุณหภูมิสูงกว่ากัน  จงให้เหตุผลประกอบ
   
    นักดาราศาสตร์  วิเคราะห์ค่าอุณหภูมิผิวของดาว  สัมพันธ์กับสีของดาวดังตารางต่อไปนี้

สีของดาว
ช่วงอุณหภูมิผิวของดาว(เคลวิน)
น้ำเงิน
น้ำเงิน ขาว
ขาว
เหลือง
ส้ม
แดง
11,000 40,000
7,500 11,000
6,000 7,500
5,000 6,000
3,500 5,000
3,000 3,500
          ©  สังเกตดาวฤกษ์สว่างต่าง   เช่น  ไรเจล  วีกา  ซิริอุส  โปรซิออน  คาเพลลา อาร์คตูรุส  แอนทารีส  บีเทลจูล  เป็นต้นแล้วลองประมาณค่าอุณหภูมิของดาวฤกษ์เหล่านี้
ที่มา http://tc.mengrai.ac.th/pawat/astroonline/chapter/celestialsphere/08.html
 ตอบข้อ 3. 6.25

เว็บไซค์ที่เกี่ยวข้อง^^
1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0
2. http://www.thaispaceweather.com/IHY/Stars/star.htm
3. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5
4. http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/wassana_s/science_p_01/sec01p030.html
5. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1
6. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2
7. http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/oraphin_s/darasat/section2_p02.html
8. http://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=apps_2_1
9. http://www.anek2009.ob.tc/earth_astro/eart4.htm
10. http://www.mongkoldham.com/text%5CsanRMC_519.pdf
       

    • ดาวที่มีแสงสีฟ้ามีความร้อนสูงที่สุด มันมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 45,032  F
    • ดาวที่มีแสงสีขาวมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 10,832  F
    • ดาวที่มีแสงสีเหลืองมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 8,540  F
    • ดาวที่มีแสงสีแดงมีความเย็นมากที่สุด มันมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 4,940
    •  F 
    ที่มา

    3 ความคิดเห็น:

    1. ให้คะแนนค่ะ^^

      1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน = 16 คะแนน
      2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน = 8 คะแนน
      3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL) = 16 คะแนน
      4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม = 34 คะแนน

      รวม 74 คะแนน

      ตอบลบ
    2. คะแนน
      1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน = 16 คะแนน
      2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน = 8 คะแนน
      3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL) = 16 คะแนน
      4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม = 34 คะแนน
      รวม 74 คะแนน


      น.ส.พิมศิริ มงคลฟัก ม.5/3เลขที่ 29

      ตอบลบ
    3. รวม 74 คะแนน



      นางสาวสุรัตนา กัลยา ม.5/3 เลขที่ 36

      ตอบลบ